องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ : www.phulanka.go.th

 
 
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ที่ตั้ง

             -  เลขที่  99  หมู่ที่ 4  ตำบลภูแลนคา  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ  36170 
             -  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบ้านเขว้า อยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอบ้านเขว้า ระยะทาง 27 กิโลเมตร
             -  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดชัยภูมิ  อยู่ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ  ระยะทาง 43 กิโลเมตร
             -  จัดตั้งเป็นตำบลภูแลนคา เมื่อปี พ.ศ.2534
             -  ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา โดยกระทรวงมหาดไทย  เมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2539
เนื้อที่   

             องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคามีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ  78,819  ไร่  หรือประมาณ  126  ตารางกิโลเมตร (1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่)

ภูมิประเทศ
             ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงสลับกับที่ราบลุ่ม ตอนบนและทางทิศตะวันตกของพื้นที่มีบริเวณติดกับแม่น้ำชี มีเทือกเขาสูงล้อมรอบทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก มีพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นป่าไม้และภูเขา จำนวน 57,128ไร่ มีพื้นที่ราบที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกทางการเกษตร จำนวน 21,691 ไร่ มีลำน้ำสายหลัก 2 สายที่ไหลผ่านพื้นที่ ระยะทาง 25 กิโลเมตร และมีแม่น้ำสายรองไหลผ่านพื้นที่ จำนวน 11 สาย ระยะทาง 56.5 กิโลเมตร สภาพอากาศขององค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคาส่วนใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูกทำการเกษตรแบบผสมผสาน การเลี้ยงสัตว์ 
อาณาเขต

             องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคาเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบลของอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ  เป็นตำบลลำดับที่ 6 ของอำเภอบ้านเขว้า ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ  โดยคิดตามระยะทางเดินรถโดยสารประมาณ 370 กิโลเมตร
             องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา  มีเขตการปกครองที่อยู่ในความรับผิดชอบ  จำนวน  8
             หมู่บ้าน และมีพื้นที่อาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอใกล้เคียง  ดังนี้

  ทิศเหนือ ติดต่อกับ  ตำบลคูเมือง  ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ
  ทิศใต้    ติดต่อกับ  ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า 
  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  ตำบลชีบน  อำเภอบ้านเขว้า    ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว
  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  ตำบลโคกสูง  ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ
ลักษณะภูมิอากาศ

             องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา  อยู่ในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มีฤดูกาล 3 ฤดู  คือ
                          ฤดูหนาว         ประมาณเดือน   พฤศจิกายน     -        กุมภาพันธ์
                          ฤดูร้อน           ประมาณเดือน   มีนาคม           -        พฤษภาคม
                          ฤดูฝน            ประมาณเดือน   มิถุนายน         -        ตุลาคม

เขตการปกครอง
             องค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคา  ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  2537   และประกาศกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  19  มกราคม  2539  แบ่งหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน  8  หมู่บ้าน 
ประชากร
  จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,413 ครัวเรือน
  จำนวนประชากรทั้งสิ้น  4,583  คน แยกเป็นชาย 2,356 คน แยกเป็นหญิง 2,227 คน
  ความหนาแน่นของประชาชน 36.37 คน/ตารางกิโลเมตร
  ความหนาแน่นของครัวเรือน 11.21  หลังคาเรือน/ตารางกิโลเมตร
รายได้
    1.  ประเภทของการประกอบอาชีพ  มีรายละเอียดดังนี้
        - อาชีพเกษตรกรรม  1,278 ครัวเรือน  ผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญคือ  ข้าว  มันสำปะหลัง  อ้อย  กล้วย  ยางพารา 
    2. รายได้เฉลี่ยต่อปีโดยประมาณ  30,000  บาท/คน/ปี   
        โครงสร้างทางเศรษฐกิจและรายได้ของประชากร การประกอบอาชีพของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคามีอาชีพทางด้านการเกษตร เช่น การทำนา  ทำสวน  ทำไร่  อาชีพรับจ้างและค้าขาย  มีอาชีพเสริม  คือ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  เพาะปลูกเห็ดฟาง การทอเสื่อกกและเย็บผ้า โดยมีรายได้ต่อประชากรโดยเฉลี่ย จำนวน  30,000  บาท/คน/ปี
หน่วยธุรกิจในเขตพื้นที่
  โรงสีข้าว  17 แห่ง
  โรงงานอุตสาหกรรม    - แห่ง
  ร้านค้า 32 แห่ง
  ปั้มน้ำมันและก๊าซ  6 แห่ง
  ร้านซ่อมรถ   10 แห่ง
  ร้านค้าชุมชน  2 แห่ง
แหล่งท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลภูแลนคามีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ 
    น้ำตกหินดาดทองคำ    
    ล่องแก่งท่าสาร     
    จุดชมวิวธารน้ำลอด   
    ซับอ่าง